สิ่งที่รัฐบาลต้องทำ เมื่อเศรษฐกิจโลกถดถอย


       เป็นที่แน่นอนแล้วว่าเศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยเชิงเทคนิคแล้ว หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ รายงานตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ปี 2565 ของสหรัฐหดตัว 0.9% ซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ที่ GDP หดตัว 1.6%  ความกังวลในขณะนี้อยู่ที่ความสามารถในการรับมือสถานการณ์ระดับวิกฤติของรัฐบาล โดยเฉพาะในช่วงนับถอยหลังก่อนรัฐบาลครบวาระในอีกไม่ถึง 10 เดือน คือ การตัดสินใจของรัฐบาลที่ให้น้ำหนักกับการมองผลทางการเมือง 

       สิ่งที่หลายฝ่ายกังวลหลังจากนี้คือ เศรษฐกิจชาติอื่นจะเข้าสู่ภาวะถดถอยตามหลังจากนี้ เช่น สหภาพยุโรป (EU) และจะนำมาสู่ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ที่จะมาซ้ำเติมผลกระทบวิกฤติโควิด-19 ที่ยังไม่ยุติ สถานการณ์เศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นเป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติที่หนักหน่วงขึ้น เมื่อวิกฤติโควิด-19 สร้างความบอบช้ำให้ประเทศตั้งแต่ปี 2563-2565 และมาซ้ำเติมด้วยวิกฤติพลังงานที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายไตรมาส 1 ปี 2565 และกำลังมาเจอวิกฤติเศรษฐกิจโลกถดถอยที่กำลังทำให้การส่งออกของประเทศไทยชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลัง และอาจทำให้การท่องเที่ยวไม่ฟื้นตัวเต็มที่ โดยรวมแล้วความคาดหวังต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤติโควิด-19 จะทำได้ยากมากขึ้น 

       สิ่งที่น่ากังวลไม่ได้มีเฉพาะผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 วิกฤติพลังงานหรือวิกฤติเศรษฐกิจโลกถดถอย แต่ความกังวลกลับมาอยู่ที่ความสามารถในการรับมือสถานการณ์ระดับวิกฤติของรัฐบาล โดยเฉพาะในช่วงนับถอยหลังก่อนรัฐบาลครบวาระในอีกไม่ถึง 10 เดือน คือ การตัดสินใจของรัฐบาลที่ให้น้ำหนักกับการมองผลทางการเมือง นั่นจึงอาจทำให้ประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินช่วงวิกฤติซ้อนวิกฤติทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเพียงพอที่จะขับเคลื่อนประเทศให้พ้นความยากลำบากนี้ไปได้ในแบบที่ควรจะเป็น รัฐบาลจำเป็นต้องตระหนักอย่างมากถึงสถานการณ์วิกฤติซ้อนวิกฤติ ซึ่งการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจอาจไม่เพียงพอ

        ถึงแม้จะพยายามใช้กลไกสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ทำแผนเผชิญเหตุรับมือสถานการณ์วิกฤติ แต่รูปแบบการตั้งคณะกรรมการบริหารเศรษฐกิจประเทศดูเหมือนจะไม่ได้ผลที่ดีนัก โดยเฉพาะการตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ที่แทบจะไม่ได้รับความร่วมมือจากพรรคร่วมรัฐบาล และ ครม.เศรษฐกิจถูกลดบทบาทในที่สุด หัวหน้ารัฐบาลที่ทำหน้าที่หัวหน้าทีมเศรษฐกิจด้วยจึงต้องหารือทีมเศรษฐกิจให้กระจ่างว่า ประเทศไทยควรรับมือเศรษฐกิจโลกถดถอยอย่างไร และหากรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องไม่ตอบสนองนโยบาย เชื่อว่านายกรัฐมนตรีรู้ว่าควรจัดการอย่างไร 

        การปรับ ครม.ที่อาจจะเกิดขึ้นก็อาจทำให้ได้ผู้ที่เหมาะสมกับภาวะวิกฤติเข้ามาทำงาน และที่สำคัญคือ ปัญหาการเมืองไม่ใช่ปัญหาของประเทศ เพราะปัญหาของประเทศในขณะนี้คือ ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ วิกฤติพลังงาน และวิกฤติโควิด 


..........

*** ขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ทั่วประเทศ ผ่าน ดีแอสเซ็ท ดอกเบี้ยต่ำที่สุด 0.69% ต่อเดือน เงินด่วน วงเงินสูง อนุมัติเร็ว ไม่เช็คเครดิตบูโร ไม่เช็คสถานะทางการเงิน ถูกต้องตามกฎหมายขายฝาก***

บริษัท ดีแอสเซ็ท เอเชีย

"จับคู่ และคัดสรร ขายฝาก แบบครบวงจร"

โทร: 065-955-2532 , 02-408-3827

www.dasset.asia

บจก.ดีแอสเซท จำกัด

84/10 ถนนพระรามที่ 2 ซอย 69 แสมดำ บางขุนเทียน กทม 10150

โทรศัพท์

065-9552532

ไลน์ไอดี

@dasset.owner

อีเมล์

info@dasset.asia

สอบถามข้อมูล

ให้ข้อมูลความรู้ เรื่องการฝากอสังหา และ การลงทุน

อสังหาริมทรัพย์ ง่าย สะดวก รวดเร็ว

เป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมายขายฝาก ด้วยทีมงานที่มีความรู้ และพร้อมให้คำปรึกษา

ติดต่อเรา